ถอดบทเรียนการขายหุ้น OSP ของนิติ โอสถานุเคราะห์

Last updated: 19 ต.ค. 2561  | 

 

อาจเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของไทยที่เก็บตัวเงียบที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะหากเราลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณนิติ โอสถานุเคราะห์ เราแทบจะไม่เจออะไรเลยนอกจากการที่เขามีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่หลายๆ ตัว


แต่ถึงแม้จะเงียบแค่ไหน ชื่อเสียงของเขาก็เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างว่าเป็นนักลงทุนสาย VI ตัวจริง รวมถึงพอร์ตการลงทุนที่ใหญ่ขนาด 4 หมื่นล้านบาท แม้จะเก็บตัวเงียบแค่ไหนก็ไม่อาจหลุดพ้นสายตาที่จับจ้องอยู่ของนักลงทุนในตลาดได้


อันที่จริงก่อนหน้านี้ คุณนิติยังมีทรัพย์สินรวมๆ ประมาณ 3 หมื่นล้านกว่าบาท แต่หลังจากที่หุ้นโอสถสภา  OSP  ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็ทำให้ความมั่งคั่งของเขาพุ่งติดจรวด


นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ที่แปลกคือ คุณนิติ นามสกุลโอสถานุเคราะห์ กลับขายหุ้น OSP ตั้งแต่วันแรกที่เข้าตลาด เป็นจำนวน 135 ล้านหุ้น คิดเป็นเงินกว่า 3.3 พันล้าน


ทำไมเขาถึงขายล่ะ ?




หุ้น IPO
ส่วนใหญ่ราคาแพง


เหตุผลหลักที่คุณนิติขายอาจจะมาจากการเข้าตลาดหุ้นเป็นวันแรกก็ได้ เพราะโดยมากแล้วหุ้นที่ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนมักจะเข้าซื้อขายกันจนราคาพุ่งสูงลิ่ว แล้วราคาก็ร่วงหลังจากนั้นไม่นานนัก (มีหุ้นเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่เข้าตลาดแล้วราคาไม่ร่วงเลย อย่างเช่น  TKN  หรือเถ้าแก่น้อย) โดยตอนที่ราคาหุ้น OSP เข้าเทรดวันแรก ราคาก็พุ่งไปถึง 30 บาท ก่อนที่จะร่วงกลับมาแถวๆ ที่บริเวณ 25 บาทอีกครั้ง


กราฟราคาหุ้น TKN รายวัน ฝั่งซ้ายมือสุดคือราคาตอนเข้าตลาดหุ้นวันแรก จะเห็นว่าราคาไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย แถมยังปรับตัวขึ้นไปอีกเกือบ 6 เท่าในเวลาไม่ถึงปี




อาจเป็นเพราะ
market share ลดลง


จากข้อมูลล่าสุดที่ปรากฎใน Filling ของโอสถสภา จะพบว่าส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทเริ่มลดลงทีละน้อย แม้จะยังเป็นเบอร์ 1 ในตลาด แต่นี่อาจเป็นสิ่งที่นักลงทุนหลายๆ คนกลัว เพราะหากบริษัทยังไม่มีทางแก้ไขที่ทำให้ market share เพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดรายได้ในอนาคตก็มีสิทธิ์ลดลงได้ และราคาหุ้นก็พร้อมจะร่วงลงตามผลประกอบการที่แย่ลง



ซึ่งจากเหตุผลสองข้อ ทั้งราคาที่เข้าตลาดวันแรกเต็มไปด้วยความร้อนแรง และความสามารถในการแข่งขันที่ไม่ได้โดดเด่นเหมือนก่อน ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณนิติ ผู้ซึ่งเป็น VI ตัวจริงเสียงจริง เลือกที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้น จนล่าสุดนี้เขาถือหุ้น OSP อยู่ประมาณ 16%




ขายแบบ
ไม่ลำเอียง


บริษัทโอสถสภาเองก็เป็นเหมือนสินทรัพย์ของครอบครัวตระกูลโอสถานุเคราะห์ แต่คุณนิติกล้าที่จะขายหุ้นนี้แบบไม่ลำเอียงแม้จะเป็นธุรกิจของตระกูล เชื่อได้เลยว่า มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่คนในครอบครัวจะกล้าขายหุ้นของตัวเอง เพราะส่วนใหญ่อาจยึดติดกับคำว่าธุรกิจของครอบครัวมากเกินไป ยึดติดในเรื่องราวของหุ้นตัวนั้นๆ มากเกินไป


แม้เราจะเป็นนักลงทุนที่อาจไม่ได้มีธุรกิจของครอบครัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ภาวะที่นักลงทุนรู้สึก "ผูกพันกับหุ้น" ที่ตัวเองถือมากเกินไปเป็นปัญหาทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะด้วยความลำเอียงที่เชื่อว่ามันเป็นธุรกิจที่ดี เราเคยถือมาก่อน ทั้งที่ความจริง ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทมันอาจสู้คู่แข่งไม่ได้แล้วก็ได้ หรือราคามันลดลงจน trend ของราคาเปลี่ยนก็ได้


ปัญหาการยึดติดกับหุ้นมากเกินไป เป็นหนึ่งในปัญหาทางจิตวิทยาที่นักลงทุนต้องเผชิญเมื่อก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ "พฤติกรรมและจิตวิทยาการลงทุน" คลิกที่รูปเพื่อสั่งซื้อ


ที่สุดแล้ว หากเรายังรั้นที่จะถือหุ้นต่อไป ก็อาจต้องพบเจอกับการขาดทุนในไม่ช้า เพียงเพราะการยึดติดกับหุ้น


แต่นี่คือสิ่งที่คุณนิติ โอสถานุเคราะห์ สามารถทำได้อย่างไม่ลังเล และนี่อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เขาเป็นนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้

 


 

ติดตามความรู้เพิ่มเติมได้ที่ FACEBOOK, LINE, WEBSITE

INVESTING.in.th — Happy Investing


 

  แหล่งอ้างอิง  

พฤติกรรมและจิตวิทยาการลงทุน : www.investing.in.th/product/22513/พฤติกรรมและจิตวิทยาการลงทุน

หนังสือชี้ชวนตราสารทุน : https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=195013&lang=th

'นิติ โอสถานุเคราะห์' กำเงินสด 3.37 พันล. : https://www.hoonsmart.com/archives/29862


 

  สัมมนาพิเศษ  

ไม่ว่าตลาดหุ้นจะแพงหรือถูก เราก็ยังหาหุ้นที่ดีได้เสมอด้วยการประเมินมูลค่าหุ้น แต่จะประเมินมูลค่ายังไงถึงจะเหมาะสม ประเมินยังไงให้เฉียบขาดและทำกำไรได้จริง พบคำตอบได้ที่สัมมนา FFTC102 รู้อะไรก็ไม่สู้รู้มูลค่า การประเมินมูลค่าหุ้น

ลงทะเบียนได้ที่ http://bit.ly/FFTC102 (เหลือ 7 ที่นั่งสุดท้าย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้