Last updated: 18 ต.ค. 2563 |
ผมได้สัมผัสกับการค้นพบครั้งใหญ่ที่น่าพึงพอใจที่สุดนอาชีพการงาน ตอนที่ผมสอนหลักจิตวิทยาการฝึกสอนอย่างมีประสิทธิภาพให้กับบรรดาผู้ฝึกสอนด้านการบินของกองทัพอากาศอิสราเอล
ตอนนั้นผมกำลังเล่าหลักการสำคัญข้อหนึ่งของการฝึกสอนทักษะให้พวกเขาฟัง นั่นคือ การให้รางวัลเมื่อทำผลงานได้ดีขึ้น ถือเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลกว่าการลงโทษเมื่อทำผิดพลาด
หลักการดังกล่าวมีหลักฐานสนับสนุนจำนวนมาก ซึ่งล้วนมาจากการทดสอบกับนกพิราบ หนู สัตว์อื่นๆ รวมถึงมนุษย์
หลังจากผมเล่าจบ หนึ่งในผู้ฝึกสอนที่มีประสบการณ์มากที่สุดในกลุ่มก็ยกมือขึ้น แล้วเริ่มแสดงความคิดเห็นของตัวเองบ้าง
เขาเริ่มต้นด้วยการยอมรับว่า การให้รางวัลเมื่อทำผลงานได้ดีขึ้นอาจใช้ได้ผลกับนก แต่เขาไม่เชื่อว่ามันจะเหมาะกับนักเรียนการบิน
เขาบอกว่า "ผมกล่าวชื่นชมนักเรียนหลายต่อหลายครั้งเมื่อพวกเขาสามารถใช้ท่าบินผาดโผนบางท่าได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ครั้งต่อไปที่พวกเขาพยายามบินผาดโผนด้วยท่าเดิม พวกเขามักทำได้แย่ลง
ในทางกลับกัน บางครั้งผมจะตะคอกใส่นักเรียนที่ทำผลงานได้ย่ำแย่ และส่วนใหญ่ครั้งต่อไป พวกเขาจะทำผลงานได้ดีขึ้น
ดังนั้น โปรดอย่าแนะนำเราว่าการให้รางวัลใช้ได้ผลแต่การลงโทษใช้ไม่ได้ผล เพราะในกรณีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม"
นี่เป็นช่วงเวลาอันน่าเบิกบานใจของการได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ มันทำให้ผมมองเห็นหลักการทางสถิติที่ผมสอนมาหลายปีในแง่มุมใหม่ ผู้ฝึกสอนคนดังกล่าวพูดถูก แต่เขาก็คิดผิดถนัดด้วย!
ข้อสังเกตของเขานับว่าหลักแหลมและถูกต้องแม่นยำ กล่าวคือ การกล่าวชื่นชมผลงานของใครสักคนมักตามมาด้วยการที่คนคนนั้นทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวัง ส่วนการลงโทษมักตามมาด้วยการทำผลงานได้ดีขึ้น
แต่ข้อสรุปของเขาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการให้รางวัลและการลงโทษนั้นผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง
สิ่งที่เขาสังเกตเห็นเรียกว่า การถอยกลับไปยังค่าเฉลี่ย (regression to the mean) ซึ่งในกรณีนี้เป็นผลมาจากความผันผวนอย่างไร้แบบแผนของคุณภาพผลงาน
โดยปกติแล้ว ผู้ฝึกสอนจะกล่าวชมเฉพาะนักเรียนที่ทำผลงานได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยมากพอสมควร แต่นักเรียนคนดังกล่าวอาจแค่โชคดีในครั้งนั้น และมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้แย่ลงอยู่แล้วไม่ว่าจะถูกชมหรือไม่ก็ตาม
ในทำนองเดียวกัน ผู้ฝึกสอนจะตะคอกใส่นักเรียนเวลาที่พวกเขาทำผลงานได้ย่ำแย่ แต่นักเรียนมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีขึ้นอยู่แล้วไม่ว่าผู้ฝึกสอนจะทำอย่างไรกับพวกเขาก็ตาม
ในกรณีนี้ ผู้ฝึกสอนได้นำการตีความที่ดูเป็นเหตุเป็นผลมาเชื่อมโยงเข้ากับความผันผวนอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ของกระบวรการที่ไร้แบบแผน
จากหนังสือ คิด, เร็วและช้า
สั่งซื้อหนังสือ “คิด, เร็วและช้า” สำรวจความบกพร่องในการตัดสินใจของมนุษย์ ผ่านมุมมองของนักคิดและนักจิตวิทยาระดับโลก
เว็บไซต์ https://bit.ly/3bFwKsE
Shopee https://bit.ly/33d0QBz
Lazada https://bit.ly/3jcq3kX
ขอบคุณภาพจากภาพยนตร์ Whiplash
สั่งซื้อหนังสือเล่มอื่นเพิ่มเติมได้ที่
www.INVESTING.in.th
ร้านหนังสือของนักลงทุน
27 ม.ค. 2566
31 ม.ค. 2566
28 ม.ค. 2566