Last updated: 18 มิ.ย. 2564 |
ไม่มีเทคนิคไหนหลีกเลี่ยง False Break ได้
ความเสี่ยงตามธรรมชาติของการเทรดแบบ Break Out
คำถาม ผมเจอกับการเบรกเอาท์ที่ล้มเหลวหลายครั้ง พอหุ้นเบรกขึ้นไปก็กลับลงมาที่เดิมและพักทำฐานนานอีกรอบ คุณคิดว่ามันจะดีกว่าไหม ถ้าเราขยับจุดซื้อขึ้นไป 10-20 เซนต์จากแนวเบรกเอาท์ เพื่อให้เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและหลีกเลี่ยงการติดกับใน False Breakout?
Mark Minervini
ปกติผมจะไม่ซื้อหุ้นทีราคาอยู่เหนือแนวเบรกเอาท์มาแค่นิดเดียว โดยทั่วไป ผมจะรอให้หุ้นเทรดเหนือจุดกลับตัว หรือจุดเบรกเอาท์ ขึ้นไปได้สัก 5-20 เซนต์ จังหวะที่ผมจะลั่นไกเข้าเทรดก็คือเมื่อหุ้นมันเริ่มดูไปได้ดีจริงๆ และการเทรดนั้นเริ่มมีกำไรให้ผม
หลังจากนั้นผมอาจจะยอมปล่อยให้หุ้นแกว่งตัวไปมาบ้างระยะหนึ่ง ถ้าไม่อย่างนั้น ผมมักจะรอและยอมจ่ายแพงขึ้นอีกหน่อยเพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นตัวนั้นกำลังวิ่งขึ้นได้จริงๆ แต่ถึงอย่างนั้น หุ้นมันก็ยังมีโอกาสร่วงกลับลงมาที่เดิมได้เช่นกัน มันไม่มีสูตรหรือตัวเลขตายตัวสำหรับเรื่องนี้
อย่างที่พูดไป ถ้าผมซื้อหุ้นแล้วมันร่วงลงมาที่เดิมและพักตัวนานขึ้น ปกติผมจะถือมันไปก่อนถ้าราคายังไม่หลุดจุดตัดขาดทุนของผม หรือมีหุ้นตัวอื่นที่น่าสนใจกว่าเริ่มวิ่งขึ้นมา
คุณต้องนึกเสมอว่า คุณไม่จำเป็นต้องซื้อทุกอย่างที่ราคาเดียว ผมมักจะทยอยซื้อและทยอยเพิ่มสัดส่วนหุ้นตัวที่เริ่มวิ่งขึ้นได้จริง เรื่องการบริหารการเทรดถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ไม่มีสูตรตายตัว
David Ryan
ไม่ครับ ผมจะยึดอยู่กับราคาที่ตั้งไว้สำหรับการเบรกเอาท์ของหุ้นถ้าการเบรกเอาท์ครั้งล่าสุดไม่สำเร็จ คุณอาจจะต้องเริ่มซื้อหุ้นในสัดส่วนที่น้อยลงก่อน แล้วจึงรีบซื้อเพิ่มถ้าราคาหุ้นปิดได้ดีและยังวิ่งขึ้นได้ในวันต่อไป คุณไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นให้ครบภายในวันเดียวแต่ควรปรับเปลี่ยนขนาดการเทรดไปตามความแข็งแกร่งของหุ้นตัวนั้นและภาวะตลาดด้วย
Dan Zanger
ถ้าตลาดผันผวนมากและไม่มีหุ้นที่เบรกเอาท์อย่างแข็งแกร่งให้เห็นมากนัก ผมจะเทรดแบบตั้งรับมากขึ้นและยังไม่ซื้อหุ้นจำนวนเยอะๆ เพราะเผื่อว่าผมอาจจะขายหุ้นหนีออกมาอย่างรวดเร็วเหมือนกับตอนที่ผมเข้าซื้อ
Mark Ritchie ll
ถ้าในความเห็นของผม มันไม่มีเทคนิคไหนที่ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยง False Breakout ได้เลยเพราะว่ามันคือความเสี่ยงตามธรรมชาติของการเทรดด้วยระบบเบรกเอาท์ที่พวกมันมักจะล้มเหลวอยู่บ่อยครั้ง การขยับจุดซื้อขึ้นไปหน่อยก็เป็นไอเดียที่ไม่เลวนัก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับลักษณะของหุ้นแต่ละตัวมากกว่า
ตัวอย่างเช่น ในหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ผมจะรอจนกระทั่งเห็นว่าราคาหุ้นยืนยันการเบรกเอาท์ได้แบบชัดเจน เพราะว่าจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของหุ้นพวกนี้เป็นจุดที่เห็นได้ชัดในเชิงเทคนิคอล และทำให้มันมีแนวโน้มที่จะถูกเขย่าให้หุ้นหลุดแนวสำคัญลงมา หรือถูกทำราคาให้วิ่งทะลุจากผู้เล่นรายอื่นๆ หรือผู้ดูแลสภาพคล่อง
นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมเบรกเอาท์เทรดเดอร์ควรที่จะยอม ‘จ่ายแพงขึ้น’ อยู่เสมอ เพราะการเทรดที่ดีที่สุดโดยนิยามแล้วมันจะไม่กลายเป็นการขาดทุน แม้ว่าคุณจะจ่ายแพงเพื่อซื้อหุ้นแล้วก็ตาม หุ้นจะพุ่งขึ้นจากจุดที่คุณซื้อด้วยความแข็งแกร่งอย่างไร้แรงต้านทานใดๆ ถ้ามันเป็นการเบรกเอาท์ที่ถูกต้องหมดจด และมันก็เป็นงานในขั้นตอนสุดท้ายของเบรกเอาท์เทรดเดอร์ที่จะต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคอะไรก็ตามที่สามารถคัดหุ้นที่เบรกเอาท์ไม่สำเร็จออกไป
จากหนังสือ โมเมนตัม มาสเตอร์
สั่งซื้อหนังสือ “โมเมนตัม มาสเตอร์”
สัมภาษณ์สุดยอดเทรดเดอร์สายตามแนวโน้ม
ได้ที่ http://bit.ly/2EAIkYc
ลดราคาพิเศษ 15%
สั่งซื้อหนังสือเล่มอื่นเพิ่มเติมได้ที่
www.INVESTING.in.th
ร้านหนังสือของนักลงทุน
18 มิ.ย. 2564
11 พ.ค. 2565
2 มี.ค. 2564
17 มิ.ย. 2564