เพราะความเหลื่อมล้ำไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ หากแต่เป็นผลผลิตร่วมของประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม ซึ่งเป็นเรื่องของเราทุกคน
หมวดหมู่ : หนังสือเข้าใหม่ประจำสัปดาห์ ,  Economics : เศรษฐศาสตร์ ,  Capitalism : ระบบทุนนิยม ,  History : ประวัติศาสตร์ ,  Story of Things : ประวัติความเป็นมา ,  สำนักพิมพ์ ,  SAENGDAO : แสงดาว , 
Share
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจหรืออยากพูดคุยหนังสือหุ้นกับนักลงทุนตัวจริง
สามารถกดค้นหาเพื่อเข้ากลุ่ม "สังสรรค์หนังสือหุ้น by INVESTING.in.th" ใน Facebook หรือ กดตรงนี้ได้เลย
ทีมงานและสมาชิกรอสังสรรค์หนังสือกับท่านอยู่นะครับ
รายละเอียดหนังสือ
Book titles : A Brief History of Equality
ชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของความเหลื่อมลํ้า
ผู้เขียน : Thomas Piketty (โทมัส พิเก็ตตี)
ผู้แปล : นรินทร์ องค์อินทรี
ISBN : 9786163886927
รูปแบบปก : ปกอ่อน
จำนวนหน้า (หน้า) : 368
ขนาดรูปเล่ม : 145 x 210 x 18 มม.
น้ำหนักหนังสือ (กรัม) : 385
สีที่ใช้พิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : : กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ : แสงดาว, บจก.สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์ : 2023
เนื้อหาโดยย่อ
"ประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำ (A Brief History of Equality)" ผลงานโดย "โทมัส พิเก็ตตี" ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์, ผู้อำนวยการศูนย์ School of Advanced Studies in the Social Sciences และผู้อำนวยการร่วมห้องปฏิบัติการ World Inequality Lab) เคยสร้างงานสั่นสะเทือนสังคมอย่าง "ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21" (Capital in the Twenty-First Century) (2013) ที่อธิบายกลไกการสะสมและการเปลี่ยนแปลงของทุน และ Capital and Ideology (2019) อธิบายบทบาทของอุดมการณ์ที่ผลิตจากสังคมที่แตกต่างจะส่งผลต่อการก่อร่างสร้างการสะสมทุนและความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างไร อย่างไรก็ตามงานดังกล่าวก็มีข้อเสนอเกริ่นนำเพียงเล็กน้อยในการหาทางออกของความเหลื่อมล้ำของทุนนิยมในศตวรรษที่ 21
"ประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำ" คือส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจากงานเก่าอย่าง Capital and Ideology (2019) โดยกล่าวถึงความสำคัญของแนวคิดอุดมการณ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับความเหลื่อมล้ำ อุดมการณ์ในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกันตามค่านิยมสังคม ประวัติศาสตร์สังคม ซึ่งอุดมการณ์จะเป็นตัวครอบงำความคิดและพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมว่า ลักษณะแบบใดเป็นเรื่องยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม อุดมการณ์เป็นสิ่งที่แปรผันไปตามสภาพแวดล้อมและกาลเวลา และสร้างมายาคติว่าความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งธรรมชาติและถูกต้องแล้ว
อีกทั้งยังเสนอทางออกจากความเหลื่อมล้ำของระบอบทุนนิยม โดยพิเก็ตตีเคยให้สัมภาษณ์ว่า Capital in the Twenty-First Century จะเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่เขาจะใช้กรอบของตะวันตกเป็นศูนย์กลางในการเขียน ที่ใช้กระบวนการวิจัย ทฤษฎี รวมถึงข้อมูลจากมุมมองของการสะสมองค์ความรู้แบบตะวันตก ดังนั้นในประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำเล่มนี้เขาได้ทลายกรอบมุมมองดังกล่าวแล้ว รวมถึงยังทลายมายาคติที่ว่า "ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์" เพราะสำหรับพิเก็ตตีแล้วความเหลื่อมล้ำเป็น "ผลผลิตร่วมของ ประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม" ที่ทุกคนในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
สารบัญ
คำนิยม
-
ข้อมูลเพิ่มเติม
-
บทความที่เกี่ยวข้อง
-