Share
หมวดหมู่ : ประเภทหนังสือ ,  การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ,  สำนักพิมพ์ ,  SE-ED ,  นักลงทุน ,  ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ,  Beginner ,  ระดับความยาก ,  Intermediate , 
Share
ทางร้านจะปิดรับรายการสั่งซื้อทุกวันอังคารและศุกร์ เวลา 12.00 น. จัดส่งวันพุธและเสาร์ ระยะเวลาการจัดส่งประมาณ 7-10 วันทำการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 081 6879000
ผู้เขียน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ISBN
9786160820696
จำนวนหน้า
304 หน้า (ปกอ่อน)
ขนาดรุูปเล่ม
145 x 209 x 15 มม.
น้ำหนัก
400 กรัม
เนื้อในหนังสือ
ขาวดำ
ชนิดกระดาษ
กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์
ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.
เดือนปีที่พิมพ์
2014
พบกับกลเม็ดการเล่นหุ้นที่จะทำให้คุณเป็นผู้ชนะตลาดได้จาก VI อันดับหนึ่งของเมืองไทย คำว่า "รู้เขา" ในเรื่องของหุ้นนั้น เขาคนแรกคือ Mr.Market หรือ "นายตลาด" ฃหรือพูดง่ายๆ ก็คือ "ตลาดหุ้น" นั่นเอง เราจะต้องรู้ว่าตลาดหุ้นนั้นมีพฤติกรรมหรือกลยุทธ์ในการเล่นหุ้นอย่างไร ถ้าเราเชื่อในคำพูดของ เบน เกรแฮม ตลาดหุ้นนั้นมักจะคุ้มดีคุ้มร้ายอยู่เรื่อยๆ เอาแน่อะไรไม่ได้ บางทีในช่วงที่อารมณ์ดีเป็นพิเศษ พวกเขาก็แห่กันเข้ามาซื้อหุ้น ทำให้ราคาหุ้นสูงลิ่วเกินกว่าพื้นฐานไปมาก แต่ในบางช่วงที่เกิดอาการหดหู่อย่างหนัก พวกเขาก็เทขายหุ้นจนราคาต่ำกว่าพื้นฐานไปมาก
หน้าที่ของเราคือ เราต้องรู้และฉกฉวยประโยชน์จากพฤติกรรมของพวกเขา แทนที่จะดีใจ ตกใจ หรือทำตามเขา อีกคนหนึ่งที่ต้องรู้ก็คือ "บริษัทจดทะเบียน" นี่คือเขาที่เราจะต้องรู้ก่อนที่จะเข้าไปลงทุน สิ่งที่จะต้องรู้ก็คือ เขาหรือบริษัทเป็นอย่างไร ทางหนึ่งที่จะใช้ในการเรียนรู้เขาก็คือ การกำหนดหรือบอกให้ได้ว่า บริษัทอยู่ในหุ้นกลุ่มไหนใน 6 กลุ่มตามแนวทางของปีเตอร์ ลินช์ นั่นคือบริษัทเป็นกิจการที่โตช้า โตเร็ว วัฏจักร แข็งแกร่ง ฟื้นตัว หรือมีทรัพย์สินมาก
ถ้าเรารู้ การลงทุนซื้อและขายหุ้นตัวนั้นก็ทำได้ง่าย เพราะพวกเขาก็จะมีพฤติกรรมของราคาหรือการให้ผลตอบแทนที่พอจะตาดการณ์ได้ แต่การวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวควรจะเป็นกิจการประเภทไหนนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บ่อยครั้งเราก็เข้าใจผิด เนื่องจากเรายังศึกษาไม่ลึกพอ เช่น เราดูข้อมูลที่เป็นตัวเลขในระยะเวลาสั้นอาจจะเพียงสองสามปี แล้วก็สรุปโดยไม่ได้ดูปัจจัยทางคุณภาพที่ต้องใช้เหตุผลทางธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย การตลาด การผลิต การเงิน การแข่งขัน และอื่นๆ อีกมาก
การ "รู้เรา" นั้นหมายความว่าต้องรู้ว่าเราเป็นคนที่มีแนวทางการลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร วิธีการนั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องในแง่ของทฤษฎีและประวัติศาสตร์หรือไม่ นอกจากนั้นในทุกครั้งที่ตัดสินใจซื้อขายหุ้น เรารู้หรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไร หรือทำอย่างไรอยู่ บางคนอาจจะคิดว่าการรู้เรานั้นไม่เห็นจะยาก เราก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าเราคิดหรือทำอะไรไม่ใช่หรือ...คำตอบคือ "ไม่ใช่"
เพราะคนจำนวนมากรวมถึงคนที่เรียกตัวเองว่า VI คิดว่าเขาเป็น "นักลงทุน" ซึ่งเน้นลงทุนโดยอิงกับพื้นฐานหรือผลประกอบการระยะยาวของบริษัท แต่สิ่งที่เขาทำมาตลอดนั้นก็คือ การซื้อและขายหุ้นเปลี่ยนตัวอย่างรวดเร็วเป็นนิจสิน ในกรณีแบบนี้ เราก็ควรจะต้องรู้ตัวหรือ "รู้เรา" ว่าเราเป็น "นักเก็งกำไร" เพียงแต่เราอาศัยผลประกอบการที่อาจจะกำลังดีขึ้นมาเก็งกำไร